อันตรายหากไม่ติดตั้งสายดิน คืออะไร ไขข้อสงสัยประโยคนี้

สายฝังดิน

อันตรายหากไม่ติดตั้งสายดิน คืออะไร ไขข้อสงสัยประโยคนี้

ระบบสายดินที่มีคุณภาพต้องมีสายฝังดินและหลักดินที่ได้มาตรฐาน

ตลอดหนึ่งวันนั้นเชื่อได้เลยว่าพวกเราหลายคนมักจะต้องใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 1 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น เตารีด และอีกมากมายซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปภายในที่พักอาศัยของเรา เรียกได้ว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าถูกจัดเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนไม่มากก็น้อย แต่รู้หรือไม่ว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด หากเราไม่ได้มีการติดตั้งสายไฟอย่างถูกวิธีอาจจะส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ชวนทำความรู้จักกับการติดตั้งสายดินด้วย “สายฝังดิน” ให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพื่อที่เราจะสามารถใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างมั่นใจ ห่างไกลอันตรายอย่างแน่นอน

ปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้หากเราไม่มีการติดตั้งสายดิน

ดังประโยคที่เราอาจจะเคยพบเห็นในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่จะมีโลโก้เขียนว่า “อันตรายหากไม่ติดตั้งสายดิน” จัดเป็นเรื่องจริงที่พวกเราไม่ควรมองข้าม สำหรับความหมายของคำว่าอันตรายในที่นี้ สามารถหมายความได้ทั้งอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินเลยทีเดียว โดยปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้หากเราไม่มีการติดตั้งสายดินและสายฝังดิน เช่น

  • เสี่ยงต่อการเกิดไฟดูด เนื่องจากความอันตรายของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงโลหะเป็นส่วนประกอบ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นหากเราผู้ใช้งานเกิดไปสัมผัสกับพื้นผิวหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมา โดยไม่มีการติดตั้งสายดินที่มีสายฝังดินคุณภาพ จะส่งผลให้กระแสไฟฟ้ารั่วเหล่านั้นใช้ร่างกายของเราเป็นสื่อในการเดินผ่านตัวเราลงสู่ดิน ส่งผลให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว 
  • เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เนื่องจากไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างสายดิน เข้ามาช่วยทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าทำงาน อาจจะส่งผลให้เกิดกระแสไฟเกิดขึ้น และนำไปสู่เหตุอัคคีภัยตามมาได้เช่นเดียวกัน 
  • เสี่ยงต่อการเสื่อมของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าไหลหรือไฟฟ้ากระชาก จะส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกเชื่อมต่ออยู่เกิดได้รับผลกระทบ และอาจจะทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นเสื่อมอายุเร็วเกินกว่าที่ควรจะเป็น

ทำความรู้จักกับสายดินระบบเพื่อความปลอดภัยในชีวิต

สายดิน หรือในอีกชื่อว่า Earthing System คือตัวนำที่จะต่อจากโครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสิ่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นเส้นทางสำหรับกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการรั่วไหลให้ไหลลงดิน แทนที่การไหลผ่านเข้าร่างกายของผู้ใช้งานในกรณีที่สัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยจะมีหลักการสำคัญตามหลักธรรมชาติของไฟฟ้า ที่จะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีศักย์ทางไฟฟ้าสูงไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าน้อยกว่า ในกรณีสายดินที่ทำงานควบคู่กับสายฝังดินเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงมาที่บริเวณโครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่รั่วออกมาเหล่านั้นจะเดินผ่านลงสู่ดินผ่านทางสายดิน ซึ่งพื้นดินที่มีค่าศักย์ไฟฟ้าเป็น 0 จะรับกระแสไฟฟ้าเหล่านั้นแทนการไหลผ่านร่างกายมนุษย์แทนนั่นเอง

อุปกรณ์สำคัญในระบบสายดินประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ในการติดตั้งสายดินทุกครั้งนั้นเพื่อให้ระบบการติดตั้งสายดินสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 ส่วนด้วยกันได้แก่ สายฝังดิน และ หลักดิน ซึ่งจะคอยความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมาตรฐานอุปกรณ์ของสายฝังดินและหลักดิน จะประกอบไปด้วยดังนี้

  • สายฝังดิน (Grounding Electrode Conductor) หรือสายต่อหลักดิน เปรียบเสมือนเป็นสายตัวนำที่จะถูกนำไปใช้เชื่อมต่อระหว่างหลักดินและส่วนที่ต้องการต่อลงดิน โดยสายฝังดินนี้จะเป็นสายตัวนำทองแดงชนิดตัวนำเดียว 

    ลักษณะภายในสายจะประกอบไปด้วยลวดทองแดง และหุ้มด้วยฉนวน PVC มีสีสายชนวนสีเขียวหรือสีเขียวสลับแถบสีเหลืองที่เป็นสีเฉพาะของสายฝังดินตามที่มาตรฐานได้กำหนดเอาไว้ และข้อสำคัญเลยสายฝังดินนั้นจำเป็นต้องเป็นตัวนำเส้นเดียวยาวตลอดระบบสายดิน ไม่มีการตัดต่อขนาดสายตามมาตรฐานของ วสท. 

  • หลักดิน (Ground Rod) เป็นแท่งโลหะที่จะทำงานควบคู่กับสายฝังดิน โดยจะใช้ในการฝังลงใต้ดิน เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อหลักดินจากเมนสวิตช์เข้ากับดิน โดยตามมาตรฐานแล้วหลักการใช้งานหลักดินนั้นมักจะทำมาจากวัสดุเหล็กหุ้มด้วยทองแดง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8นิ้ว) มีขนาดความยาวอยู่ที่ 2.40 เมตร โดยเมื่อทำการหลักดินนี้ลงดินแล้วจำเป็นต้องมีความต้านทานการต่อลงดินไม่เกิน 5 โอห์ม

ประเภทอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควรต้องมีและไม่ต้องมีสายดินและสายฝังดิน

อย่างที่เราทราบกันดีว่าสายดิน สายฝังดิน และหลักดินถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอุปกรณ์ที่เราใช้งานในชีวิตประจำวันจะเสี่ยงต่ออันตรายทุกชิ้นเสียทีเดียว ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ 2 ประเภทด้วยกันดังนี้

  • อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีสายดิน ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ที่มีโครงเหล็กหรือเปลือกหุ้มเป็นโลหะที่สามารถสัมผัสได้โดยตรง เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น เตารีด หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า ฯลฯ 
  • อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ต้องมีสายดิน ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 2 ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น เช่น พัดลม วิทยุ โทรทัศน์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 50 โวลต์ ซึ่งได้รับการต่อจากหม้อแปลงชนิดพิเศษที่ถูกออกแบบมาเพื่อความปลอดภัย เช่น โทรศัพท์ เครื่องโกนหนวด

เราจะเห็นได้ว่าสายดินนั้นสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน ซึ่งการติดตั้งสายดินที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีสายฝังดินที่ได้รับมาตรฐานการใช้งาน และยังต้องได้รับการติดตั้งที่ถูกต้องตรงตามที่มาตรฐานได้กำหนดเอาไว้อีกด้วย

ดังนั้นแล้วเราควรพิจารณาการเลือกสายฝังดินอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถใช้งานสายฝังดินได้อย่างมีคุณภาพ ช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าสายดินที่มีสายฝังดินได้มาตรฐาน จะสามารถสร้างความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และห่างไกลจากภัยอันตรายที่จะตามมาอย่างแน่นอน

สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาผู้ให้บริการสายฝังดินคุณภาพ การเลือกใช้บริการกับ ปกรณ์ อิเล็คทริคอล ซัพพลาย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้คุณได้ เพราะเราคืออีกหนึ่งผู้จัดจำหน่ายสายไฟคุณภาพมากมายหลายชนิด

ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ สายฝังดิน สายมัลติคอร์ สายคอนโทรล สายไฟโซล่าเซลล์ ฯลฯ เรายังมีทีมงานมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านสายฝังดินโดยเฉพาะ สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับสายฝังดินที่เหมาะสมกับการใช้งานในระบบสายดินได้อย่างตรงจุด ตรงกับลักษณะการใช้งานสายฝังดินที่คุณต้องการ โดยทั้งหมดนี้สามารถติดสั่งซื้อได้ รับประกันได้สายไฟราคาโครงการแน่นอน พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศ

 

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อสั่งซื้อสายไฟราคาถูกได้ที่
บริษัท ปกรณ์ อิเล็คทริคอล ซัพพลาย จำกัด

Tel : 098-2529965, 088-9459426 | Email : Info@pakorn-electric.com